5 สุดยอดเคล็ดลับ ปรับตัวอย่างไร? เมื่อเข้าสู่ สังคมสูงวัย ให้แข็งแรงทั้งกายและใจ

Last updated: 29 ต.ค. 2563  |  3083 จำนวนผู้เข้าชม  | 

5 สุดยอดเคล็ดลับ ปรับตัวอย่างไร? เมื่อเข้าสู่ สังคมสูงวัย ให้แข็งแรงทั้งกายและใจ

คนไทยอายุขัยเฉลี่ยที่ยืนยาวขึ้น มีอัตราเกิดและอัตราตายที่ลดลง กลายเป็นสังคมผู้สูงอายุซึ่งมีแนวโน้มว่าจำนวนผู้สูงอายุจะเพิ่มขึ้น กรมสุขภาพจิตแนะผู้สูงวัยให้เน้นการดูแลร่างกาย จิตใจ และสังคม เพื่อเตรียมความพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงในการก้าวเข้าสู่สังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์

วันนี้ Distar Care มี 5 สุดยอดเคล็ดลับ ปรับตัวอย่างไร? เมื่อเข้าสู่ สังคมสูงวัย ให้แข็งแรงทั้งกายและใจ มาฝากกันครับ

1. รับประทานอาหารที่มีคุณค่าครบ 5 หมู่
อาหารสำหรับผู้สูงวัยควรมีปริมาณพอดี การเลือกทานอาหารที่มีประโยชน์เป็นสิ่งสำคัญสำหรับผู้สูงวัยเป็นอย่างมาก เนื่องจากอายุที่มากขึ้นร่างกายใช้พลังงานน้อยลง อาหารของผู้สูงวัยควรเป็นอาหารที่อ่อนนุ่ม เคี้ยวง่าย และทานอาหารในแต่ละมื้อให้ครบ 5 หมู่ เน้นสารอาหารจำพวก ไฟเบอร์หรือเส้นใย โปรตีน วิตามิน คาร์โบไฮเดรต และไขมันดี ก็จะช่วยให้สุขภาพผู้สูงอายุแข็งแรงขึ้น



2. ออกกำลังกายที่เหมาะสมกับวัย
การออกกำลังกายวันละนิดช่วยให้สุขภาพร่างกายแข็งแรง ตั้งแต่ กระดูก กล้ามเนื้อ ระบบไหลเวียนเลือด การขับถ่าย รวมไปถึงช่วยในเรื่องของความจำ การออกกำลังกายที่แนะนำและปลอดภัยมักจะให้ออกกำลังทั้งแบบคาร์ดิโอ 150 นาที/สัปดาห์ และควรมีการออกกำลังกายแบบยืดเหยียดกล้ามเนื้อวันละครั้ง เช่น โยคะแบบง่ายๆ เพื่อให้ข้อต่อยืดหยุ่น ไม่ติดขัด

 

3. การนอนหลับ เป็นพื้นฐานที่ดีของสุขภาพ
เมื่ออายุยิ่งมาก จะยิ่งนอนสั้นลงเรื่อยๆ บางรายอาจนอนเพียง 3-4 ชั่วโมงก็ตื่นแล้ว เนื่องจากเมื่ออายุมากขึ้น ฮอร์โมนที่ควบคุมการหลับตื่นในกลางคืนจะลดลง ทำให้นอนสั้น ตื่นบ่อย จึงควรเข้าใจและปรับสถานที่นอนหลังให้เงียบสงบ มืดเพียงพอ ไม่หนาว ไม่ร้อนเกินไป รวมถึงหากตื่นกลางดึก อาจหากิจกรรมเบาๆ ให้ทำ เช่น นั่งสมาธิ อ่านหนังสือ แทนการดูทีวี และโทรศัพท์ จะทำให้มีคุณภาพการนอนที่ดีขึ้น ช่วงที่ตื่นจะได้สดชื่นเต็มที่

 

4. การฝึกใจ
ผู้สูงวัย เป็นวัยที่เรียกได้ว่าผ่านประสบการณ์มามากมาย มีความนิ่งกว่าวัยอื่นๆ อาจฝึกใจโดยการสวดมนต์ เข้าวัด ฟังธรรม นั่งสมาธิ ทำบุญ ให้สงบนิ่ง ไม่ฟุ้งซ่าน และเข้าใจความเป็นไปของโลก รวมถึงการทำกิจกรรมเพื่อสังคม หรือกิจกรรมอื่นๆ เพื่อเพิ่มความรู้สึกมีคุณค่า เช่น งานสังคมสงเคราะห์ งานสอนและแชร์ประสบการณ์ให้เด็กรุ่นหลัง เป็นต้น ในข้อนี้จะเติมความสุขจากภายในได้

 

5. การดูแลป้องกันโรคภัย และอุบัติเหตุ

เมื่ออายุมากขึ้น ความเสี่ยงที่จะเกิดโรคต่างๆ ก็เพิ่มขึ้น เนื่องจากความเสื่อมถอยของร่างกาย ผู้สูงวัยจึงควรตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปี และหากมีโรคประจำตัว ควรพบแพทย์อย่างสม่ำเสมอ นอกจากปัญหาสุขภาพร่างกายที่เป็นไปตามวัยแล้ว เรื่องอุบัติเหตุการหกล้มและการลื่น เนื่องจากสภาพร่างกายที่เสื่อมลงจึงทำให้มีโอกาสที่จะเกิดอุบัติเหตุเหล่านี้ได้ แต่หลายคนคงคิดว่าการให้ผู้สูงวัยอยู่แต่ในบ้านจะช่วยลดปัญหาการเกิดอุบัติเหตุ แต่แท้ที่จริงแล้วการเกิดอุบัติเหตุกับผู้สูงวัยภายในบ้านก็สามารถพบได้บ่อย เช่น ลื่นล้มในห้องน้ำ ซึ่งตัวช่วยที่สามารถช่วยดูแลผู้สูงวัยได้คืออุปกรณ์ช่วยเหลือผู้สูงวัย เช่น เก้าอี้อาบน้ำกันลื่น ไม้พยุงเดิน เก้าอี้รถเข็น เป็นต้น ซึ่งอุปกรณ์เหล่านี้สามารถช่วยลดปัญหาการเกิดอุบัติเหตุได้



เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้